วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1


ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา


พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและข้อปฏิบัติที่ยึดถือทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล
พระพุทธศาสนามีหลักการและทฤษฎีที่เป็นสากล คือ หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐของชีวิตมี 4 ประการคือ
 1. ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สอนว่า  “  ชีวิต และโลก นี้มีปัญหาอะไรบ้าง ”
 2. สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) สอนว่า  “ ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุ  มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ ”อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2


พุทธประวัติและชาดก



ชาติตระกูล  มีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะเป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่ โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันว่า จะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนอ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3


วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี


1.วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษาอ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4


หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


                พุทธธรรมเป็นเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิตธรรมทุกข้อหากปฏิบัติตามอย่างจริงจังจะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่างมากทั้งสิ้น  พุทธธรรมนั้นสอนทั้งการดำเนินชีวิตที่จะทำให้ชีวิตตนมีค่าหรือเป็นชีวิตที่ประเสริฐ  ชีวิตที่อยู่กับความเจริญและคุณธรรมและสอนการดำเนินชีวิตให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี สงบ และเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
            หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีเป็นจำนวนมาก  หลักธรรมที่จัดว่าเป็นแม่บทของพุทธธรรมทั้งหมดได้แก่  อริยสัจ ๔ ซึ่งจะช่วยให้เรามีความเข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ  และรู้จักชีวิตของตนเองอย่างแท้จริงอ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5


พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต


พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภทอ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6


การบริหารจิตและเจริญปัญญา


ความหมายของการบริหารจิตและการเจริญปัญญา
              การบริหารจิต
 หมายถึง การบำรุงรักษาจิตให้มีความเข็มแข็ง มีพลังและมีประสิทธิภาพปกติจิตของบุคคลทั่วไป จะซัดส่ายไปตามสิ่งที่มากระทบอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดอาการกวัดแกว่ง เหนื่อยล้า วิธีบำรุงรักษา คือ การทำให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว ไม่คิดถึงเรื่องอื่นในขณะนั้น ซึ่งเรียกว่า จิตเป็นสมาธิเมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบ ความมั่นคง และความเข็มแข็งก็จะเกิดขึ้น ที่สำคัญ ปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นตามมาด้วยอ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7


พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง


เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงด้วยพระองค์เองแล้ว พระองค์ก็ทรงนำความจริงที่ตรัสรู้นั้นมาประกาศเปิดเผยแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยมิได้เลือกชั้นวรรณะ สามารถทำให้คนทุกชนชั้นวรรณะไม่ว่าจะเป็นพราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ หรือศูทร สามารถรู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ได้ ต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนานพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายกว้างออกไปยังดินแดนต่างๆอ่านเพิ่มเติม